พิมพ์
ฮิต: 1582

วิสัยทัศน์ในการพัฒนาเทศบาลตำบลเชียงเครือ

           “ ตำบลเชียงเครือน่าอยู่ มุ่งสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง”

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา

  1.  ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพียงพอกับการดำรงชีวิต
  2.  ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  3.  การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  4.  ประชาชนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง  สิ่งแวดล้อมไม่มีมลพิษ
  5.  ประชาชนได้รับบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างทั่วถึง
  6.  ประชาชนรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด

แนวทางการพัฒนาเทศบาลตำบลเชียงเครือ          

 ยุทธศาสตร์การพัฒนา  ( 5 ยุทธศาสตร์  23 กลยุทธ์ )

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

                   1.1 การบริหารจัดการด้านการศึกษา  ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา

                    1.2 การส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ

                    1.3 การสังคมสงเคราะห์  ส่งเสริมสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

                    1.4 การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว

                    1.5 การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมให้แก่ประชาชน

  1. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

                   2.1 การส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปะศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

                    2.2  การส่งเสริมและบำรุงรักษาสถานที่ท่องเที่ยวและสวนสาธารณะ

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรและพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

                   3.1 การส่งเสริมการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตามแนวเกษตรอินทรีย์

                    3.2  การส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้

                    3.3  การพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

                    3.4  การส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP)

                    3.5  ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการจัดการด้านการตลาด

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

                    4.1 การส่งเสริมสุขภาพและการควบคุมป้องกันโรค

                    4.2 การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 

                    4.3 การฟื้นฟูสมรรถภาพและการบริการด้านสาธารณสุข

                    4.4 การส่งเสริม  สนับสนุนและคุ้มครองผู้บริโภค

                    4.5 การส่งเสริม การอนุรักษ์ ฟื้นฟู สิ่งแวดล้อม

  1. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลและความมั่นคง

                     5.1 การพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

                     5.2 การส่งเสริมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รักษาความสงบเรียบร้อย

                     5.3 การส่งเสริมและสนับสนุนเสริมสร้างความรู้รักสามัคคีและเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ                  

                          ตามระบอบประชาธิปไตย

                     5.4 การพัฒนาองค์กรและบุคลากร

                     5.5 การป้องกันแก้ไขปัญหาทุจริต  คอรัปชั่น

                     5.6 ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ การปฏิบัติตนให้ก้าวทันสู่ประชาคมเศรษฐกิจ

                          อาเซียน(AEC)

การพัฒนาตามนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น

  1. 1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

           พัฒนา  ปรับปรุงและเพิ่มความสะดวกสบายแก่ประชาชนตำบลเชียง เครือ  โดยจัดให้มี   น้ำไหล  ไฟสว่าง  ทางสะดวก  และมีความปลอดภัย  โดยมี แนวทางในการดำเนินงานดังนี้

          1.1 ปรับปรุงถนนหนทางให้อยู่ในสภาพดี  ทั้งถนนภายในหมู่บ้าน   ถนนเชื่อมระหว่าง หมู่บ้าน  และปรับปรุงถนนไปสู่พื้นที่เพื่อการเกษตร

          1.2 ขยายเขตไฟฟ้าในหมู่บ้าน  ขยายเขตไฟฟ้าไปสู่พื้นที่การเกษตร  และติด ตั้ง ปรับปรุง  ซ่อมแซม  ไฟฟ้าสาธารณะภายในหมู่บ้านให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน

          1.3 ขยายเขตประปาในหมู่บ้าน   ตลอดจนปรับปรุงคุณภาพน้ำและปริมาณน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

          1.4  ก่อสร้าง  ปรับปรุงทางระบายน้ำภายในหมู่บ้าน         

          1.5  ปรับปรุง  ก่อสร้าง  แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

  1. 2. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต

มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต  ความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตพื้นที่ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  โดยมีแนวทางในการพัฒนาดังนี้

2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ  ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส

2.2  เสริมสร้างประสิทธิภาพ  ศักยภาพของบุคลากรและเครื่องมือเครื่องใช้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

2.3  จัดให้มีช่องทางที่ประชาชนจะเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารของเทศบาล

2.4  ส่งเสริมให้หมู่บ้านมีความเข้มแข็งปลอดยาเสพติด

2.5  จัดให้มีสถานที่พักผ่อนและสถานที่ออกกำลังกาย

2.6  ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระบบบริการสาธารณสุขหมู่บ้าน

2.7  รณรงค์  ให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันโรคติดต่อ

      3.ด้านการศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม

มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการศึกษาของประชาชนในเขตพื้นที่ให้ได้รับการ ศึกษาอย่างทั่วถึง  และรักษาขนบธรรมเนียม  วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นไว้  โดย มีแนวทางในการพัฒนาดังนี้

          3.1  ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและได้รับการเรียนรู้ตลอดชีวิต  โดยการจัดทำห้องสมุดประจำชุมชน เป็นต้น

          3.2  ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กก่อนวัยเรียน  ให้มีพัฒนาการที่ เหมาะสมกับวัย โดยการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ได้รับมาตรฐาน

          3.3  สนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ  ที่เกี่ยวกับเด็ก  โรงเรียนและหมู่บ้าน  เช่น  โครงการจัดงานวัน เด็ก  โครงการจัดงานวันผู้สูงอายุ  เป็นต้น

          3.4  สนับสนุนงบประมาณในการส่งเสริมนักเรียนที่เรียนดี  แต่ขาดทุนทรัพย์ในการเรียนโดยการมอบทุนการศึกษาให้

          3.5    จัดจ้างนักเรียน  นักศึกษาในช่วงปิดภาคเรียนให้มีรายได้เสริมและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

          3.6  ส่งเสริม  สนับสนุน  ฟื้นฟู  อนุรักษ์  ศิลปวัฒนธรรม  ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

          3.7  ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาภายในตำบล

          3.8  ส่งเสริมให้ใช้หลักศาสนา เพื่อสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในการดำรงชีวิต  

  1. 4. การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ

          เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ  มีการประกอบอาชีพและมีการกระจายรายได้     อย่างทั่วถึงโดยมีแนวทางการพัฒนาดังนี้

          4.1  ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและศักยภาพของประชาชนในท้องถิ่น

          4.2  ส่งเสริมและสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน  เช่น  เครื่องปั้นดินเผา

          4.3  จัดให้มีตลาดในเขตพื้นที่  เพื่อจำหน่ายสินค้าทางการ เกษตร  สินค้าภายในชุมชน   เพื่อกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง

          4.4    ส่งเสริมการรวมกลุ่มหรือกองทุนหมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง

          4.5  ส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มคุณภาพสินค้าและ ลดต้นทุนการผลิต

  1. 5. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

          เพื่อให้ประชาชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดีในการดำรงชีวิต  ซึ่งมีแนวทางในการพัฒนาดังนี้

          5.1  ส่งเสริมการบริหารจัดการเกี่ยวกับขยะ  โดยลดปริมาณขยะให้น้อยลง โดยการจัดทำโครงการขยะรีไซเคิล

          5.2  พัฒนาความสะอาดของหมู่บ้าน  วัด  โรงเรียนและสถานที่ราชการให้มีความเรียบร้อย  สวยงาม

          5.3  สร้างจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม  เพื่อลดมลภาวะให้ตำบลมีสิ่งแวดล้อมยั่งยืนในอนาคต

          5.4  บำรุง  รักษาที่สาธารณประโยชน์เพื่อไม่ให้มีคนบุกรุก

  1. 6. ด้านบริหารจัดการมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

          6.1  ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการบริหารภายใต้ระบอบ ประชาธิปไตย  โดยพัฒนาการทำงานแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาค ส่วน  เช่น  ประชาชน เทศบาล  วัด  โรงเรียน  หน่วยงานราชการต่าง ๆ  เป็นต้น

          6.2  ยึดหลักธรรมาภิบาลเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ

          6.3  พัฒนาบุคลากร  ยกระดับความรู้  ความสามารถทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน      

          6.4  นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานและบริการ ประชาชน  เพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

          6.5  ปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการประชาชนแบบครบ วงจร  เช่น  ให้ บริการชำระภาษีนอกสถานที่    ให้บริการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัย  ให้บริการยืมครุภัณฑ์         (โต๊ะ  เก้าอี้  เต็นท์)  เป็นต้น