อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล   พ.ศ.  2496  แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 12)  พ.ศ.  2546  ส่วนที่ 3  หน้าที่ของเทศบาล  บทที่  1  เทศบาลตำบล  ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลไว้  เป็น  2  ส่วน  ประกอบด้วย

              มาตรา  50   ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล  ดังต่อไปนี้
  1.  รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
  2.  ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
  3.  รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ  รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
  4.  ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
  5.  ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
  6.  ให้ราษฎรได้รับการศึกษาและอบรม
  7.  ส่งเสริมการพัฒนาสตรี  เด็ก  เยาวชน  ผู้สูงอายุ  และผู้พิการ
  8.  บำรุงศิลปะ  จารีตประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
  9.  หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

              การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อ ประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและให้คำนึง ถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล  การจัดทำงบ ประมาณ  การจัดซื้อจัดจ้าง  การตรวจสอบ  การประเมินผลการปฏิบัติงาน  และการ เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร  ทั้งนี้  ให้เป็นไปตามกฎหมาย  ระเบียบ  ข้อบังคับว่า ด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

               มาตรา 51   ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย  เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใด ๆ ในเขตเทศบาล   ดังต่อไปนี้
  1.  ให้มีน้ำสะอาดหรือประปา
  2.  ให้มีโรงฆ่าสัตว์
  3.  ให้มีตลาด  ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
  4.  ให้มีสุสานและณาปนสถาน
  5.  บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
  6.  ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
  7.  ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
  8.  ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
  9.  เทศพาณิชย์

                อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ. 2542  หมวด  2  การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ  มาตรา  16  ให้เทศบาลมีอำนาจและหน้าที่  ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อ ประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นด้วยตนเองดังนี้
    1.  การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
    2.  การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก  ทางน้ำ  และทางระบายน้ำ
    3.  การจัดให้มีและควบคุมตลาด  ท่าเทียบเรือ  ท่าข้าม  และที่จอดรด
    4.  การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
    5.  การสาธารณูปการ
    6.  การส่งเสริม   การฝึกอบรม  และประกอบอาชีพ
    7.  การพาณิชย์  และการส่งเสริมการลงทุน
    8.  การส่งเสริมการท่องเที่ยว
    9.  การจัดการศึกษา
    10. การสังคมสงเคราะห์  และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก  สตรี  คนชรา  และผู้ด้อยโอกาส
    11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
    12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
    13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
    14. การส่งเสริมกีฬา
    15. การส่งเสริมประชาธิปไตย  ความเสมอภาค  และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
    16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
    17. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
    18. การกำจัดมูลฝอย  สิ่งปฏิกูล  และน้ำเสีย
    19. การสาธารณสุข  การอนามัยครอบครัว  และการรักษาพยาบาล
    20. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและณาปนสถาน
    21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
    22. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
    23. การรักษาความปลอดภัย  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  และการอนามัย  โรงมหรสพ  และสาธารณสถานอื่น ๆ
    24. การจัดการ  การบำรุงรักษา  และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้  ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม
    25. การผังเมือง
    26. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
    27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
    28. การควบคุมอาคาร
    29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    30. การรักษาความสงบเรียบร้อย  การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
    31. กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด